ข้ามไปเนื้อหา

มารีน เลอ แปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารีน เลอ แปน
Marine Le Pen
เลอ แปนในค.ศ. 2022
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
จังหวัดปาดกาแล เขตที่ 11
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน ค.ศ. 2017
(7 ปี 1 วัน)
ก่อนหน้าฟีลิป เกเมล
ตำแหน่งเพิ่มเติม
ประธานกลุ่มแนวร่วมแห่งชาติ
ในสมัชชาแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน ค.ศ. 2022
(1 ปี 360 วัน)
รองฌ็อง-ฟีลิป ตองกี
ก่อนหน้าก่อตั้งกลุ่มพรรค
ฌ็อง-มารี เลอ แปน (โดยทางอ้อม[a])
ประธานพรรคแนวร่วมแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม ค.ศ. 2011 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 2021
(10 ปี 148 วัน)
ก่อนหน้าฌ็อง-มารี เลอ แปน
ถัดไปฌอร์ดัน บาร์เดลลา
สมาชิกรัฐสภายุโรป
ดำรงตำแหน่ง
20 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 2017
(12 ปี 333 วัน)
ถัดไปคริสแตล เลอเชอวาเลียร์
เขตเลือกตั้งเขตแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (ค.ศ. 2004–2009)
เขตฝรั่งเศสตะวันตกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 2009–2017)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มารียง อาน แปรีน เลอ แปน

(1968-08-05) 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968 (55 ปี)
เนยยี่-ซูร์-แซน ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองแนวร่วมแห่งชาติ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1986)
คู่อาศัยลุยส์ อาลีโยต์ (ค.ศ. 2009 – 2019)
คู่สมรสฟร็องค์ โชฟฟรอย (สมรส 1995; หย่า 2000)
เอรีก ลอรีโอ (สมรส 2002; หย่า 2006)
บุตร3
บุพการี
ความสัมพันธ์มารียง มาเรชาล (หลานสาว)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีส-ป็องเตอง-อาสซาส
ลายมือชื่อ

มารีน เลอ แปน (ฝรั่งเศส: Marine Le Pen; เกิด มารียง อาน แปรีน "มารีน" เลอ แปน (ฝรั่งเศส: Marion Anne Perrine "Marine" Le Pen) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวฝรั่งเศสทางฝ่ายขวาจัด[1][2][3][4]

เลอ แปน เป็นลูกสาวคนเล็กของฌ็อง-มารี เลอ แปน พ่อของเธอเป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งชาติ

เธอเขาในวงการการเมืองในค.ศ. 1986 แต่จากค.ศ. 1998 ได้รับเลือกตั้งต่าง ๆ และดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เช่น สมาชิกสภาแคว้นนอร์-ปาดกาแล (ค.ศ. 1998 - 2004; ค.ศ. 2010 - 2015) สมาชิกสภาแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (ประจำจังหวัดโอดแซน ระหว่างค.ศ. 2004 - 2010) สมาชิกสภาแคว้นโอดฟร็องส์ (ค.ศ. 2016 - 2021) หรือสมาชิกสภาจังหวัดปาดกาแล ตั้งแต่ค.ศ. 2021

มารีน เลอ แปน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภายุโรปประจำเขตแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ระหว่างค.ศ. 2004 - 2009 จากนั้นได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในประจำเขตฝรั่งเศสตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่างค.ศ. 2009 ถึงปีค.ศ. 2017 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2014

เหตุการสำคัญของเธอบนวงการการเมืองคือเป็นการลงสมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งต่อจากลงสมัครของพ่อของเธอและการได้รับเลือกตั้งเป็นประธานใหม่ของพรรคในค.ศ. 2011

เธอลงสมัครครั้งแรกในการเลือกตั้งของค.ศ. 2012 ซึ้งได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากอันดับที่ 3 เนื่องจากได้รับ 17.9%

จากนั้นเธอลงสมัครครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2017 แล้วได้ผ่านรอบที่ 2 เนื่องจากได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากอันดับที่ 2 (หรือ 21.3%) แต่กลับไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากได้รับคะแนนกว่า 33.9% เอง

ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2022 เลอ แปน ลงสมัครอีกครั้งและผ่านรอบที่ 2 อีกครั้ง เนื่องจากได้รับคะแนนกว่า 23.1% แต่กลับไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เนื่องจากได้รับคะแนนกว่า 41.4% เอง

ในที่สุดเธอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2017 ประจำเขตที่ 11 ของจังหวัดปาดกาแล แล้วได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2022 หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ เธอได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกลุ่มของพรรคแนวร่วมแห่งชาติในสมัชชาแห่งชาติ

บรรณานุกรม[แก้]

  • À contre flots, Jacques Grancher, 2006 ISBN 2-7339-0957-6 (autobiography) (ในภาษาฝรั่งเศส)
  • Pour que vive la France, Jacques Grancher, 2012, 260 pages (ในภาษาฝรั่งเศส)

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ฌ็อง-มารี เลอ แปน เคยเป็นประธานกลุ่มของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ แต่เป็นประธานระหว่างปีค.ศ. 1986 - 1988

อ้างอิง[แก้]

  1. "Macron's far-right rival, Le Pen, reaches all-time high in presidential second-round vote poll". Reuters. 4 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
  2. "French far-right leader Marine Le Pen closing gap on Emmanuel Macron, new polls show". TheJournal.ie. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
  3. "French election: Far-right Le Pen closes in on Macron ahead of vote". BBC News. 8 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 April 2022.
  4. Alsaafin, Linah. "What is behind the rise of the far right in France?". aljazeera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2022. สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]